กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายเกี่ยวกับบุคคลนั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การจดทะเบียนสมรส ฯลฯ ซ่งคุณควรรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับตนเอง
ใครเป็นผู้แจ้งเกิด?
(ยกเว้น โรงพยาบาลแห่งที่ทำความตกลงกับสำนักงานเขต อาจเป็นผู้ดำเนินการแจ้งเกิดได้)
กำหนดเวลาการแจ้งเกิด
ต้องแจ้งชื่อของเด็กพร้อมการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันที่เด็กเกิด
สถานที่แจ้งเกิด
1. เด็กที่เกิดในเขตเทศบาล แจ้งที่สำนักงานทะเบียน ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาลนั้นเอง
2. เด็กที่เกิดนอกเขตเทศบาล แจ้งที่ที่ว่าการอำเภอหรือที่สำนักงานทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เช่น เขตกรมทหาร
3. เด็กที่เกิดในกรุงเทพมหานคร แจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเขต
4. เด็กซึ่งเป็นบุตรบุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ ถ้าต้องการให้บุตรมีสัญชาติไทย ต้องแจ้งต่อสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยเป็นสำนักงานทะเบียนในต่างประเทศ
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
กรณีเกิดที่บ้าน
1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและของบิดามารดาเด็ก
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
กรณีเกิดนอกบ้าน
1. บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาเด็ก
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ที่ได้รับมอบหมาย (กรณีมารดาเด็กไม่ได้ไปแจ้งเกิดด้วยตนเอง)
กรณีเกิดที่โรงพยาบาล
1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาเด็กและผู้แจ้ง (กรณีที่บิดามารดาไม่สามารถไปแจ้งได้ด้วยตนเอง)
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะนำเด็กย้ายเข้า
3. หนังสือรับรองการเกิดของผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ
4. อายุ สัญชาติ
ค่าธรรมเนียม
การแจ้งเกิดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
โทษของการไม่แจ้งเกิด
การไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลามีความผิดและมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
การแจ้งเกิดเกินกำหนด
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงกรณีเป็นบุตรของบุคคลที่มีสัญชาติไทย
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. หลักฐานที่แสดงว่าบิดามารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร สูติบัตร ใบสุทธิ
4. พยานเอกสาร ได้แก่ ใบรับรองการเกิด ทะเบียนนักเรียน (ถ้ามี)
5. พยานบุคคลผู้รู้เห็นการเกิด ได้แก่ บิดามารดา ผู้ทำคลอด เจ้าบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รู้เห็นการเกิดอื่นๆ เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน โดยต้องมีพยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานที่่ต้องนำไปแสดงกรณีเป็นบุตรของบุคคลต่างด้าว
1. เช่นเดียวกับผู้มีสัญชาติไทยทั้งห้าข้อ
2. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา
3. รูปถ่ายเด็กที่ขอแจ้งเกิด ขนาด 2x3 จำนวน 2 ภาพ
4. รูปถ่ายทั้งครอบครัวของเด็กที่ขอแจ้งเกิด จำนวน 1 รูป โดยระบุชื่อและความสัมพันธ์กับเด็กทุกคนไว้ด้านหลังรูป
5. หลักฐานการพิสูจน์ตัวบุคคลที่เกิดแต่ไม่ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา เช่น ทะเบียนนักเรียน
6. เอกสารหลักฐานต่างๆ หากเป็นสำเนาของหน่วยราชการ ให้หน่วยราชการนั้นเป็นผู้รับรองให้เรียบร้อยด้วย
* ค่าธรรมเนียม ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่เสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หมายเหตุ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและสอบสวนข้อเท็จจริงเปรียบเทียบปรับ (กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา) และได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย (กรณีบุตรบุคคลต่างด้าว) แล้วนายทะเบียนจะออกสูติบัตรพร้อมทั้งเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้าน
กฎหมายเกี่ยวกับบุคคลนั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การจดทะเบียนสมรส ฯลฯ ซ่งคุณควรรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับตนเอง
ใครเป็นผู้แจ้งเกิด?
- เด็กเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าบ้าน
- เด็กเกิดนอกบ้าน เป็นหน้าที่ของมารดาเด็กหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- เด็กเกิดที่โรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลที่จะออกใบรับรองการเกิดให้บิดาหรือมารดาเพื่อนำไปแจ้งเกิดที่สำนักทะเบียนที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่
(ยกเว้น โรงพยาบาลแห่งที่ทำความตกลงกับสำนักงานเขต อาจเป็นผู้ดำเนินการแจ้งเกิดได้)
กำหนดเวลาการแจ้งเกิด
ต้องแจ้งชื่อของเด็กพร้อมการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันที่เด็กเกิด
สถานที่แจ้งเกิด
1. เด็กที่เกิดในเขตเทศบาล แจ้งที่สำนักงานทะเบียน ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาลนั้นเอง
2. เด็กที่เกิดนอกเขตเทศบาล แจ้งที่ที่ว่าการอำเภอหรือที่สำนักงานทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เช่น เขตกรมทหาร
3. เด็กที่เกิดในกรุงเทพมหานคร แจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเขต
4. เด็กซึ่งเป็นบุตรบุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ ถ้าต้องการให้บุตรมีสัญชาติไทย ต้องแจ้งต่อสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยเป็นสำนักงานทะเบียนในต่างประเทศ
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
กรณีเกิดที่บ้าน
1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและของบิดามารดาเด็ก
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
กรณีเกิดนอกบ้าน
1. บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาเด็ก
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ที่ได้รับมอบหมาย (กรณีมารดาเด็กไม่ได้ไปแจ้งเกิดด้วยตนเอง)
กรณีเกิดที่โรงพยาบาล
1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาเด็กและผู้แจ้ง (กรณีที่บิดามารดาไม่สามารถไปแจ้งได้ด้วยตนเอง)
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะนำเด็กย้ายเข้า
3. หนังสือรับรองการเกิดของผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ
4. อายุ สัญชาติ
ค่าธรรมเนียม
การแจ้งเกิดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
โทษของการไม่แจ้งเกิด
การไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลามีความผิดและมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
การแจ้งเกิดเกินกำหนด
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงกรณีเป็นบุตรของบุคคลที่มีสัญชาติไทย
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. หลักฐานที่แสดงว่าบิดามารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร สูติบัตร ใบสุทธิ
4. พยานเอกสาร ได้แก่ ใบรับรองการเกิด ทะเบียนนักเรียน (ถ้ามี)
5. พยานบุคคลผู้รู้เห็นการเกิด ได้แก่ บิดามารดา ผู้ทำคลอด เจ้าบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รู้เห็นการเกิดอื่นๆ เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน โดยต้องมีพยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานที่่ต้องนำไปแสดงกรณีเป็นบุตรของบุคคลต่างด้าว
1. เช่นเดียวกับผู้มีสัญชาติไทยทั้งห้าข้อ
2. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา
3. รูปถ่ายเด็กที่ขอแจ้งเกิด ขนาด 2x3 จำนวน 2 ภาพ
4. รูปถ่ายทั้งครอบครัวของเด็กที่ขอแจ้งเกิด จำนวน 1 รูป โดยระบุชื่อและความสัมพันธ์กับเด็กทุกคนไว้ด้านหลังรูป
5. หลักฐานการพิสูจน์ตัวบุคคลที่เกิดแต่ไม่ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา เช่น ทะเบียนนักเรียน
6. เอกสารหลักฐานต่างๆ หากเป็นสำเนาของหน่วยราชการ ให้หน่วยราชการนั้นเป็นผู้รับรองให้เรียบร้อยด้วย
* ค่าธรรมเนียม ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่เสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หมายเหตุ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและสอบสวนข้อเท็จจริงเปรียบเทียบปรับ (กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา) และได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย (กรณีบุตรบุคคลต่างด้าว) แล้วนายทะเบียนจะออกสูติบัตรพร้อมทั้งเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้าน
Comments
Post a Comment