การปล่อยวาง คลายทุกข์ แบบง่ายๆ

สิ่งที่เราเป็นทุกข์ในปัจจุบันนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เราเองต้องอยู่ในโลกนี้ โลกแห่งการเป็นเหยื่อความเจริญด้านวัตถุ สิ่งล่อใจมีมาก ทำให้กิเลสมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นการปล่อยวางทั้งด้านวัตถุที่เป็นรูปธรรม และการปล่อยวางทางจิตใจที่เป็นนามธรรม จึงเป็นหนทางให้เราคลายความทุกข์ลงได้ เช่น ไฮเทคเกินไปก็ทำตัวให้ โลว์เทคบ้าง เคยขับรถ ก็ลองปล่อยแล้วมาขึ้นรถเมล์บ้าง เคยเอะอะโวยวายไม่พอใจเมื่อมีใครทำอะไรไม่ถูกใจ ก็หัดเฉยให้อภัยบ้าง เคยแต่งตัวพิถีพิถัน ก็มาแต่งตัวตามสบายบ้าง เป็นต้น
การปล่อยวางคืออะไร?
การปล่อยวาง คือ ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ข้อนี้สำคัญที่สุดในการคลายเครียดทุกวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะเป็นการตัดต้นตอของความทุกข์ทั้งมวลลงได้ เมื่อยึดมั่นถือมั่นมากก็ต้องทุกข์มาก ถ้าปล่อยวางลงได้มากก็เบามากสุขมาก แล้วความเครียดก็ลดลงหรือหายไปเลย พูดอาจจะง่ายแต่ทำจริงๆ คงยาก เพราะใจเรามักผูกพันหรือฝังใจ กับสิ่งที่ทำให้เจ็บ กับสิ่งที่ทำให้เรารัก ซึ่งต้องรู้จักการให้อภัย ถ้าเกิดอยู่ดีๆ ก็มีคนมาด่าเราเพราะเข้าใจผิด ไปผูกใจเจ็บด่ากลับ ทำให้ใจเราขุ่นหมอง ถ้าเราเสียสิ่งที่รักเช่น สุนัขที่เรารัก ก็คงต้องเสียใจ แต่ไม่ควรเศร้าใจเกินเหตุ ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะทำให้สุขภาพแย่ลง และสิ่งที่เรารักคงไม่อยากเห็นเราต้องเศร้าใจ
ยึดมั่นสิ่งใด ก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น
เมื่อยึดมั่นในสิ่งใด ก็เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า...
"สพ.เพ ธม.มานาลํ อภินิเวสาย" แปลว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น" นี้เป็นหลักธรรมชั้นสูงขั้นวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา
แต่สำหรับเราปุถุชนนั้น ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่ เพราะยังมีกิเลสอยู่ จะปล่อยวางให้เด็ดขาดนั้นยังทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น ใครจะยึดมั่นในเรื่องอะไรก็ยึดเถิด แต่อย่ายึดให้มากเกินไป เพราะสิ่งทั้งปวงในโลกนี้มันไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน มันเป็นทุกข์ มันตกอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องพังสลายไปในที่สุด และไม่มีอะไรเป็นของเราที่แท้จริงเลย เห็นได้ชัดเมื่อคนเราตาย เราต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้หมดสิ้นแล้วจากโลกนี้ไป นำไปได้แต่บุญและบาปติดตัวไปได้เท่านั้น นอกนั้นต้องทิ้งไว้ทั้งสิ้น มอบให้โลกเขาไป แม้แต่ร่างกาย เพราะได้ยืมของโลกเขามาใช้ชั่วคราว
วิธีการในการปล่อยวางมีหลายอย่าง สำหรับคนเราที่ยังไม่อาจปล่อยวางทุกอย่างได้ ก็ควรใช้การปล่อยวางแบบง่าย ๆ ไปก่อน คือ รู้จัก ปิดหู ปิดตา และ ปิดปาก เสียบ้าง เหมือนอย่างรูปปริศนาธรรมเป็นรูปลิง 3 ตัว โดยตัวหนึ่งปิดหู ตัวหนึ่งปิดตา อีกตัวหนึ่งปิดปาก ตามหลักพระพุทธศาสนา ถือว่าคนเราบางคราวแม้ไม่ใบ้ก็ทำเหมือนเป็นใบ้เสียบ้าง แม้ไม่หนวกก็ทำเหมือนหนวกเสียบ้าง แม้ไม่บอดก็ทำเป็นบอดเสียบ้าง ถ้าทำเป็นคนรู้เห็นไปหมดแล้ว ก็เท่ากับไปแส่หาความทุกข์ไม่หยุดหย่อน
อย่างสมมติว่า เราเห็นคนรักหรือลูกหลานไปทำบางสิ่งบางอย่างอันไม่น่าพอใจ บางครั้งเราก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเสียบ้าง เพราะถ้ารู้เห็นมากมันก็วุ่นวาย และทำให้เครียดมาก เช่น ในบางครั้งบางคนแม้ตนไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่ได้พยายามสืบเสาะให้มันเห็นจนได้ แล้วในที่สุดก็มานั่งทุกข์นอนทุกข์ เพราะไม่มีอุบายรักษาใจหรือปล่อยวางไม่เป็น
เพราะฉะนั้น อุบายในการคลายเครียดเช่นนี้ ท่านจึงกล่าวเป็นกลอนไว้ว่า...
ปิดหูซ้ายขวา >>>>>> ปิดตาสองข้าง
ปิดปากเสียบ้าง >>>>> นั่งนอนสบาย
ในการปล่อยวางการยึดมั่นนั้น คนเราจะต้องเห็นพระไตรลักษณ์ว่า ขันธ์ 5 หรือทุกสิ่งทุกอย่างในโลก อันย่อเหลือแต่รูปกับนาม ว่ามันตกอยู่ในอำนาจของพระไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา คือหาตัวเจ้าของที่แท้จริงไม่ได้
ความทุกข์หรือความเครียดของคนเราไม่ใช่น้อยที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น บางคนแม้จะตายแล้ว ก็ยังไม่ยอมปล่อยวาง ชีวิตมีแต่หนักอึ้ง เพราะแบกแต่ภาระการงานและยึดมั่นเอาไว้
** วิธีปฏิบัติให้เกิดความปล่อยวาง
วิธีปฏิบัติให้เกิดความปล่อยวางอันเป็นอุบายแก้ทุกข์หรือคลายเครียดอย่างหนึ่งนั้นคือทำอย่างไร? ในที่นี้จะขอเสนออุบายแก้ทุกข์หรือคลายเครียด ให้เกิดการปล่อยวางลงได้ ดังต่อไปนี้
1. เมื่อเกิดอะไรขึ้น ให้รวมลงในพระไตรลักษณ์ให้หมด คือถ้าอะไรเกิดขึ้นในชีวิตเรา ไม่ว่าดีหรือไม่ดี ก็ให้รวมลงไปว่า สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ และ มันเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรเป็นของเราที่แท้จริงเลย จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ถ้ารวมลงในพระไตรลักษณ์ได้ ใจมันจะเบาจะว่าง แต่ถ้าตรงกันข้าม ใจมันจะหนักจะเครียด จะมีแต่ความร้อนกระวนกระวาย
2. ให้เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับ คือให้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนแต่ต้องดับไปในที่สุดทั้งสิ้น แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็ต้องดับ โลกนี้ก็ต้องสลาย ไม่มีอะไรเหลือ ดังที่พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมครั้งแรกว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีการดับไปเป็นธรรมดา" เช่น คนเราเมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการตายเป็นธรรมดา แม้ปัญหาความยุ่งยากในชีวิตอะไรก็ตามที่ยังแก้ไม่ตกเมื่อมันเกิดขึ้นมันก็ต้องดับไป นี้คือกฎของธรรมชาติอย่างหนึ่งของสิ่งทั้งหลาย ไม่ต้องไปบังคับหรือยึดมั่นถือมั่นมากจนเกินไป เพราะถือมั่นมาก ก็ทุกข์มากและทำให้เครียดด้วย
3. อย่าแบกงานไว้มากเกินไป คือ การแบกงานมากเกินไปนั้นมันหนัก มันเครียด มันวุ่นวาย และทุกข์ใจมาก แม้เราจะทำใจว่า เราจะทำงานด้วยใจว่างไม่ยึดมั่นถือมั่นแต่เมื่อเราไปรับงานแบกงานไว้มาก ใจจะสงบได้ยาก และงานจะเสียได้ง่าย เพราะทำไม่ทัน และจะเป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ฉะนั้น ผู้ที่ได้ความสงบสุขที่เรียกว่า สันติบท นั้น ต้องเป็นคนไม่แบกงานไว้มากจนเกินไป คือต้องเป็นคนมีงานไม่มากจนเกินไป ที่เรียกว่า อัปปกิจโจ มีงานน้อย ทำงานแต่พอประมาณ แก่ความรู้ความสามารถของตน จึงจะเกิดความเบากายเบาใจได้ง่าย คือให้วางงานลงเสียบ้าง ถ้าไม่วางก็จะหนักอยู่ตลอดไป แม้เราปุถุชนไม่อาจจะวางได้ตลอดไป แต่วางลงเสียบ้างและก็จะคลายเครียดได้
4. ให้ปฏิบัติพร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้าออก คือในการนำธรรมะขั้นปล่อยวางมาปฏิบัตินั้นถ้าเราปฏิบัติในขณะเจริญกรรมฐาน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ให้กำหนดดังนี้ เมื่อหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปล่อยวาง" เมื่อหายใจออกก็ภาวนาว่า "ปล่อยวาง" ปล่อยวางอะไร? คืออะไรก็ได้ที่ทำให้ยุ่ง ปล่อยวางมันให้หมด โดยเฉพาะปล่อยวางนามรูป ที่จะให้เข้าไปยึดมั่นว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขา เมื่อหายใจเข้าก็ภาวนาว่าปล่อยวาง เมื่อหายใจออกก็ปล่อยวาง แม้ที่สุด ร่างกายของเราก็ต้องปล่อย แล้วมันก็เบา จะรู้สึก เย็นขึ้นมา
5. ให้ทำงานด้วยความไม่ยึดมั่น คือทำงานเพื่องาน เพื่อความสำเร็จของงาน ทำความดีเพื่อความดี ไม่ใช่ทำเพื่อยศ เพื่อตำแหน่งเกียรติยศชื่อเสียง ไม่ใช่ทำเพื่อตัวเรา เพื่อของเรา ถ้าทำอย่างนั้นมันจะวุ่นวายใจ เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่สมใจตน จงทำงานไปพร้อมกับให้ความรู้สึกอยู่เสมอว่าทำความดีเพื่อความดี ทำงานเพื่อความสำเร็จของงาน ทำด้วยความเพลิดเพลิน ไม่รีบร้อนจนเกินไป เพราะในที่สุด เราต้องปล่อยวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย เมื่อเราต้องจากโลกนี้ไป
6. ให้ถือหลักพุทธภาษิตว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เมื่อปล่อยวางลงได้ก็เป็นสุข
ดังคำกลอนที่ว่า...
>>>>>>>> สิ่งทั้งปวง >>>>>>> ควรหรือ >>>>>>> จะถือมั่น
>>>>>>> เพราะว่ามัน >>>>>>> ก่อทุกข์ >>>>>>> มีสุขไฉน
>>>>>>> ยึดมั่นมาก >>>>>>> ทุกข์มาก >>>>>>> ลำบากใจ
>>>>>>> ปล่อยวางได้ >>>>>>> เป็นสุข >>>>>>> ทุกคืนวัน
หากท่านสาธุชนทั้งหลายใช้อุบายแก้ทุกข์หรือคลายเครียดดังกล่าวมาตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้ายนี้ ก็จะทำให้ความทุกข์ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นบรรเทาเบาบางลง ความเครียดก็จะลดลง แล้วความสุขและความสงบก็เข้ามาแทนที่ ด้วยอำนาจการประพฤติธรรม
แม้อุบายคลายเครียดบางอย่าง จะเป็นธรรมชั้นสูง แต่ก็เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เราสามารถนำมาประยุกต์กับชีวิตประจำวันของเราได้ หากเข้าใจในหลักการปฏิบัติเพียงพอ เพราะว่า ผู้ใดปฏิบัติธรรม พระธรรมย่อมคุ้มครองผู้นั้น พระธรรมที่เราประพฤติแล้วย่อมนำความสุขมาให้ การที่เราได้รับความสุขความเจริญนั้น คืออานิสงส์หรือประโยชน์แห่งการประพฤติธรรม
การปล่อยวางไม่ได้หมายถึง ให้ทิ้งสิ่งต่างๆ ที่เราทำอยู่
แต่ให้ไม่ยึดติดเกินไป คิดเมื่อถึงเวลา ไม่หมกหมุ่นเกินเหตุ
ถึงเวลาพักผ่อนก็ยังไม่คิดถึงเรื่องงาน เวลาทำงานจิตก็อยู่ที่งานไม่คิดถึงเรื่องอื่นที่ทำให้เราหงุดหงิดที่เจอมา ซึ่งการที่ทำได้ก็ต้องใช้ สติ สมาธิ ปัญญา เข้ามาช่วย

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/doyourbest/2010/08/10/entry-3
ข้อคิดดีๆ แง่มุมในการดำเนินชีวิต, เคล็ดลับต่างๆ และความรู้

สิ่งที่เราเป็นทุกข์ในปัจจุบันนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เราเองต้องอยู่ในโลกนี้ โลกแห่งการเป็นเหยื่อความเจริญด้านวัตถุ สิ่งล่อใจมีมาก ทำให้กิเลสมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นการปล่อยวางทั้งด้านวัตถุที่เป็นรูปธรรม และการปล่อยวางทางจิตใจที่เป็นนามธรรม จึงเป็นหนทางให้เราคลายความทุกข์ลงได้ เช่น ไฮเทคเกินไปก็ทำตัวให้ โลว์เทคบ้าง เคยขับรถ ก็ลองปล่อยแล้วมาขึ้นรถเมล์บ้าง เคยเอะอะโวยวายไม่พอใจเมื่อมีใครทำอะไรไม่ถูกใจ ก็หัดเฉยให้อภัยบ้าง เคยแต่งตัวพิถีพิถัน ก็มาแต่งตัวตามสบายบ้าง เป็นต้น
การปล่อยวางคืออะไร?
การปล่อยวาง คือ ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ข้อนี้สำคัญที่สุดในการคลายเครียดทุกวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะเป็นการตัดต้นตอของความทุกข์ทั้งมวลลงได้ เมื่อยึดมั่นถือมั่นมากก็ต้องทุกข์มาก ถ้าปล่อยวางลงได้มากก็เบามากสุขมาก แล้วความเครียดก็ลดลงหรือหายไปเลย พูดอาจจะง่ายแต่ทำจริงๆ คงยาก เพราะใจเรามักผูกพันหรือฝังใจ กับสิ่งที่ทำให้เจ็บ กับสิ่งที่ทำให้เรารัก ซึ่งต้องรู้จักการให้อภัย ถ้าเกิดอยู่ดีๆ ก็มีคนมาด่าเราเพราะเข้าใจผิด ไปผูกใจเจ็บด่ากลับ ทำให้ใจเราขุ่นหมอง ถ้าเราเสียสิ่งที่รักเช่น สุนัขที่เรารัก ก็คงต้องเสียใจ แต่ไม่ควรเศร้าใจเกินเหตุ ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะทำให้สุขภาพแย่ลง และสิ่งที่เรารักคงไม่อยากเห็นเราต้องเศร้าใจ
ยึดมั่นสิ่งใด ก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น
เมื่อยึดมั่นในสิ่งใด ก็เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า...
"สพ.เพ ธม.มานาลํ อภินิเวสาย" แปลว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น" นี้เป็นหลักธรรมชั้นสูงขั้นวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา
แต่สำหรับเราปุถุชนนั้น ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่ เพราะยังมีกิเลสอยู่ จะปล่อยวางให้เด็ดขาดนั้นยังทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น ใครจะยึดมั่นในเรื่องอะไรก็ยึดเถิด แต่อย่ายึดให้มากเกินไป เพราะสิ่งทั้งปวงในโลกนี้มันไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน มันเป็นทุกข์ มันตกอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องพังสลายไปในที่สุด และไม่มีอะไรเป็นของเราที่แท้จริงเลย เห็นได้ชัดเมื่อคนเราตาย เราต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้หมดสิ้นแล้วจากโลกนี้ไป นำไปได้แต่บุญและบาปติดตัวไปได้เท่านั้น นอกนั้นต้องทิ้งไว้ทั้งสิ้น มอบให้โลกเขาไป แม้แต่ร่างกาย เพราะได้ยืมของโลกเขามาใช้ชั่วคราว
วิธีการในการปล่อยวางมีหลายอย่าง สำหรับคนเราที่ยังไม่อาจปล่อยวางทุกอย่างได้ ก็ควรใช้การปล่อยวางแบบง่าย ๆ ไปก่อน คือ รู้จัก ปิดหู ปิดตา และ ปิดปาก เสียบ้าง เหมือนอย่างรูปปริศนาธรรมเป็นรูปลิง 3 ตัว โดยตัวหนึ่งปิดหู ตัวหนึ่งปิดตา อีกตัวหนึ่งปิดปาก ตามหลักพระพุทธศาสนา ถือว่าคนเราบางคราวแม้ไม่ใบ้ก็ทำเหมือนเป็นใบ้เสียบ้าง แม้ไม่หนวกก็ทำเหมือนหนวกเสียบ้าง แม้ไม่บอดก็ทำเป็นบอดเสียบ้าง ถ้าทำเป็นคนรู้เห็นไปหมดแล้ว ก็เท่ากับไปแส่หาความทุกข์ไม่หยุดหย่อน
อย่างสมมติว่า เราเห็นคนรักหรือลูกหลานไปทำบางสิ่งบางอย่างอันไม่น่าพอใจ บางครั้งเราก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเสียบ้าง เพราะถ้ารู้เห็นมากมันก็วุ่นวาย และทำให้เครียดมาก เช่น ในบางครั้งบางคนแม้ตนไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่ได้พยายามสืบเสาะให้มันเห็นจนได้ แล้วในที่สุดก็มานั่งทุกข์นอนทุกข์ เพราะไม่มีอุบายรักษาใจหรือปล่อยวางไม่เป็น
เพราะฉะนั้น อุบายในการคลายเครียดเช่นนี้ ท่านจึงกล่าวเป็นกลอนไว้ว่า...
ปิดหูซ้ายขวา >>>>>> ปิดตาสองข้าง
ปิดปากเสียบ้าง >>>>> นั่งนอนสบาย
ในการปล่อยวางการยึดมั่นนั้น คนเราจะต้องเห็นพระไตรลักษณ์ว่า ขันธ์ 5 หรือทุกสิ่งทุกอย่างในโลก อันย่อเหลือแต่รูปกับนาม ว่ามันตกอยู่ในอำนาจของพระไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา คือหาตัวเจ้าของที่แท้จริงไม่ได้
ความทุกข์หรือความเครียดของคนเราไม่ใช่น้อยที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น บางคนแม้จะตายแล้ว ก็ยังไม่ยอมปล่อยวาง ชีวิตมีแต่หนักอึ้ง เพราะแบกแต่ภาระการงานและยึดมั่นเอาไว้
** วิธีปฏิบัติให้เกิดความปล่อยวาง
วิธีปฏิบัติให้เกิดความปล่อยวางอันเป็นอุบายแก้ทุกข์หรือคลายเครียดอย่างหนึ่งนั้นคือทำอย่างไร? ในที่นี้จะขอเสนออุบายแก้ทุกข์หรือคลายเครียด ให้เกิดการปล่อยวางลงได้ ดังต่อไปนี้
1. เมื่อเกิดอะไรขึ้น ให้รวมลงในพระไตรลักษณ์ให้หมด คือถ้าอะไรเกิดขึ้นในชีวิตเรา ไม่ว่าดีหรือไม่ดี ก็ให้รวมลงไปว่า สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ และ มันเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรเป็นของเราที่แท้จริงเลย จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ถ้ารวมลงในพระไตรลักษณ์ได้ ใจมันจะเบาจะว่าง แต่ถ้าตรงกันข้าม ใจมันจะหนักจะเครียด จะมีแต่ความร้อนกระวนกระวาย
2. ให้เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับ คือให้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนแต่ต้องดับไปในที่สุดทั้งสิ้น แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็ต้องดับ โลกนี้ก็ต้องสลาย ไม่มีอะไรเหลือ ดังที่พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมครั้งแรกว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีการดับไปเป็นธรรมดา" เช่น คนเราเมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการตายเป็นธรรมดา แม้ปัญหาความยุ่งยากในชีวิตอะไรก็ตามที่ยังแก้ไม่ตกเมื่อมันเกิดขึ้นมันก็ต้องดับไป นี้คือกฎของธรรมชาติอย่างหนึ่งของสิ่งทั้งหลาย ไม่ต้องไปบังคับหรือยึดมั่นถือมั่นมากจนเกินไป เพราะถือมั่นมาก ก็ทุกข์มากและทำให้เครียดด้วย
3. อย่าแบกงานไว้มากเกินไป คือ การแบกงานมากเกินไปนั้นมันหนัก มันเครียด มันวุ่นวาย และทุกข์ใจมาก แม้เราจะทำใจว่า เราจะทำงานด้วยใจว่างไม่ยึดมั่นถือมั่นแต่เมื่อเราไปรับงานแบกงานไว้มาก ใจจะสงบได้ยาก และงานจะเสียได้ง่าย เพราะทำไม่ทัน และจะเป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ฉะนั้น ผู้ที่ได้ความสงบสุขที่เรียกว่า สันติบท นั้น ต้องเป็นคนไม่แบกงานไว้มากจนเกินไป คือต้องเป็นคนมีงานไม่มากจนเกินไป ที่เรียกว่า อัปปกิจโจ มีงานน้อย ทำงานแต่พอประมาณ แก่ความรู้ความสามารถของตน จึงจะเกิดความเบากายเบาใจได้ง่าย คือให้วางงานลงเสียบ้าง ถ้าไม่วางก็จะหนักอยู่ตลอดไป แม้เราปุถุชนไม่อาจจะวางได้ตลอดไป แต่วางลงเสียบ้างและก็จะคลายเครียดได้
4. ให้ปฏิบัติพร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้าออก คือในการนำธรรมะขั้นปล่อยวางมาปฏิบัตินั้นถ้าเราปฏิบัติในขณะเจริญกรรมฐาน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ให้กำหนดดังนี้ เมื่อหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปล่อยวาง" เมื่อหายใจออกก็ภาวนาว่า "ปล่อยวาง" ปล่อยวางอะไร? คืออะไรก็ได้ที่ทำให้ยุ่ง ปล่อยวางมันให้หมด โดยเฉพาะปล่อยวางนามรูป ที่จะให้เข้าไปยึดมั่นว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขา เมื่อหายใจเข้าก็ภาวนาว่าปล่อยวาง เมื่อหายใจออกก็ปล่อยวาง แม้ที่สุด ร่างกายของเราก็ต้องปล่อย แล้วมันก็เบา จะรู้สึก เย็นขึ้นมา
5. ให้ทำงานด้วยความไม่ยึดมั่น คือทำงานเพื่องาน เพื่อความสำเร็จของงาน ทำความดีเพื่อความดี ไม่ใช่ทำเพื่อยศ เพื่อตำแหน่งเกียรติยศชื่อเสียง ไม่ใช่ทำเพื่อตัวเรา เพื่อของเรา ถ้าทำอย่างนั้นมันจะวุ่นวายใจ เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่สมใจตน จงทำงานไปพร้อมกับให้ความรู้สึกอยู่เสมอว่าทำความดีเพื่อความดี ทำงานเพื่อความสำเร็จของงาน ทำด้วยความเพลิดเพลิน ไม่รีบร้อนจนเกินไป เพราะในที่สุด เราต้องปล่อยวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย เมื่อเราต้องจากโลกนี้ไป
6. ให้ถือหลักพุทธภาษิตว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เมื่อปล่อยวางลงได้ก็เป็นสุข
ดังคำกลอนที่ว่า...
>>>>>>>> สิ่งทั้งปวง >>>>>>> ควรหรือ >>>>>>> จะถือมั่น
>>>>>>> เพราะว่ามัน >>>>>>> ก่อทุกข์ >>>>>>> มีสุขไฉน
>>>>>>> ยึดมั่นมาก >>>>>>> ทุกข์มาก >>>>>>> ลำบากใจ
>>>>>>> ปล่อยวางได้ >>>>>>> เป็นสุข >>>>>>> ทุกคืนวัน
หากท่านสาธุชนทั้งหลายใช้อุบายแก้ทุกข์หรือคลายเครียดดังกล่าวมาตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้ายนี้ ก็จะทำให้ความทุกข์ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นบรรเทาเบาบางลง ความเครียดก็จะลดลง แล้วความสุขและความสงบก็เข้ามาแทนที่ ด้วยอำนาจการประพฤติธรรม
แม้อุบายคลายเครียดบางอย่าง จะเป็นธรรมชั้นสูง แต่ก็เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เราสามารถนำมาประยุกต์กับชีวิตประจำวันของเราได้ หากเข้าใจในหลักการปฏิบัติเพียงพอ เพราะว่า ผู้ใดปฏิบัติธรรม พระธรรมย่อมคุ้มครองผู้นั้น พระธรรมที่เราประพฤติแล้วย่อมนำความสุขมาให้ การที่เราได้รับความสุขความเจริญนั้น คืออานิสงส์หรือประโยชน์แห่งการประพฤติธรรม
การปล่อยวางไม่ได้หมายถึง ให้ทิ้งสิ่งต่างๆ ที่เราทำอยู่
แต่ให้ไม่ยึดติดเกินไป คิดเมื่อถึงเวลา ไม่หมกหมุ่นเกินเหตุ
ถึงเวลาพักผ่อนก็ยังไม่คิดถึงเรื่องงาน เวลาทำงานจิตก็อยู่ที่งานไม่คิดถึงเรื่องอื่นที่ทำให้เราหงุดหงิดที่เจอมา ซึ่งการที่ทำได้ก็ต้องใช้ สติ สมาธิ ปัญญา เข้ามาช่วย

http://www.oknation.net/blog/doyourbest/2010/08/10/entry-3
ข้อคิดดีๆ แง่มุมในการดำเนินชีวิต, เคล็ดลับต่างๆ และความรู้
Comments
Post a Comment